

ปี | ประวัติความเป็นมาและความสำเร็จ |
---|---|
2561 |
เดือนธันวาคม - ที่ประชุมคณะกรรมการของไทยคุน (ไต้หวัน) ได้มีมติอนุมัติให้ ไทยคูน (Cayman) ขายหุ้นร้อยละ 60 ของบริษัท ทีวาย สตีล จำกัด ให้กับ Ton Shun Industry Co., Ltd. และ Son Li Electric & Machinery Co., Ltd. |
2564 |
เดือนกันยายน -ไทยคูน (ประเทศไทย) ซื้อหุ้นบริษัท เคดีบี จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ในสัดส่วนร้อยละ 44.99 ด้วยมูลค่าจำนวนเงิน 54 ล้านบาท และในเดือนตุลาคมของปีเดียวกัน บริษัท เคดีบี จำกัด ได้เพิ่มทุนจดทะเบียนอีก 156 ล้านบาท และไทยคูน (ประเทศไทย) ได้จองซื้อตามสัดส่วนการถือหุ้น เดือนธันวาคม - บริษัท ทีวาย สตีล จำกัด เพิ่มทุนจดทะเบียนอีก 1 พันล้านบาท หลังจากเพิ่มทุนแล้วไทยคูน (Cayman) ถือหุ้นร้อยละ 5.89 และไทยคูน (ประเทศไทย) ถือหุ้นร้อยละ 19.27 |
2565 |
กรกฎาคม-ไทยคูน (ประเทศไทย) ได้ลดทุนจดทะเบียนเพื่อชดเชยการขาดทุนสะสมเป็นจำนวนเงิน 1,491,720,250 บาท และหลังลดทุนแล้วไทยคูน (ประเทศไทย) มีทุนจดทะเบียนทั้งสิ้น 475,616,750 บาท |
2566 | เดือนมิถุนายน - ไทยคูน (ประเทศไทย) ได้ร่วมทุนกับไทยคูน (ไต้หวัน) ก่อตั้งบริษัทใหม่ ชื่อบริษัท กรีน เอ็นจิเนียริ่ง โฮลดิ้ง จำกัด (Green Engineering Holding Co., Ltd.) ต่อไปนี้จะเรียกว่า (“GEH”) มีทุนจดทะเบียน 300 ล้านบาท บริษัทไทยคูน (ประเทศไทย) ถือหุ้นร้อยละ 55 ส่วนไทยคูน (ไต้หวัน) ถือหุ้นร้อยละ 45 ธุรกิจหลักของ GEH คือการลงทุนในด้านสินทรัพย์ เดือนพฤศจิกายน - ไทยคูน (ประเทศไทย) ได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองแสดงปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร (Carbon Footprint of Organization: CFO) และปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์ (Carbon footprint of Product: CFP) จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (อบก.) รวมถึงได้รับการรับรอง ISO-14064-1 และ ISO-14067 จากบริษัท บูโร เวอริทัส เซอทิฟิเคชั่น (ประเทศไทย) จำกัด |
2567 |
เดือนกุมภาพันธ์ - ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ไทยคูน (ประเทศไทย) ได้มีมติอนุมัติให้ลงทุนในบริษัทย่อยที่มีชื่อว่าบริษัท สยาม พีซี โปรดักส์ จำกัด ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า (“SPC”) ผ่าน GEH โดยไทยคูน (ประเทศไทย) ถือหุ้นร้อยละ 55 และในเดือนมีนาคมของปีเดียวกัน SPC ได้เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 250 ล้านบาท ซึ่งผู้ถือหุ้นได้เพิ่มทุนตามสัดส่วนการถือหุ้นและชำระเงินค่าหุ้นเพิ่มทุนเป็นงวดเต็มมูลค่าแล้ว ในเดือนเมษายนได้จดทะเบียนทุนที่ออกและเรียกชำระเต็มมูลค่าแล้ว ธุรกิจหลักของ SPC ได้แก่ ผลิตและจำหน่ายลวดเหล็กกล้า (PC wire) และลวดเหล็กกล้าตีเกลียวสำหรับคอนกรีตอัดแรง (PC strand) และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เดือนพฤศจิกายน - ไทยคูน (ประเทศไทย) ได้ลงทุนในบริษัทย่อยชื่อบริษัท เมก้า อิมพอร์ท-เอ็กซ์พอร์ต จำกัด ต่อไปนี้จะเรียกว่า(“MEGA”) ผ่าน SPC โดย ไทยคูน (ประเทศไทย) ถือหุ้นร้อยละ 51 ธุรกิจหลักของ MEGA คือ ชื้อขายลวดเหล็กกล้า (PC wire) และลวดเหล็กกล้าตีเกลียวสำหรับคอนกรีตอัดแรง (PC strand) และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง |