บริษัทไทยคูน เวิล์ดไวด์ กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด มหาชน เริ่มก่อตั้งเมื่อปี 2539 โดยยึดหลัก“มุ่งมั่นพัฒนา นวัตกรรมใหม่ และมุ่งสู่ความก้าวหน้าอย่างจริงจัง ศรัทธาและมุ่งมั่น พัฒนาตนเอง เพื่อค้นหาความเป็นเลิศ”
ในการดำเนินธุรกิจ เพื่อนำไปสู่การเป็นคู่ค้าที่ดีที่สุดสำหรับผู้ซื้อทั่วโลก โดยบริษัทดำเนินธุรกิจในการหลอมเหล็ก ผลิตและจัดจำหน่ายเหล็กลวด เหล็กเส้นเสริมคอนกรีต ลวดเหล็กอบอ่อน สกรู สลักเกลียว และแท่งเกลียวด้วยเทคโนโลยีกระบวนการผลิตที่เชื่อมโยงกันในแนวดิ่งอย่างครบวงจรสมบูรณ์แบบ นอกจากนี้บริษัทยังมีความสามารถในการผลิตจำนวนมากที่มีความคล่องตัวระดับโลก, สายการผลิตที่สมบูรณ์แบบ, การดำเนินงานที่ดีเทียบเท่ากับองค์กรระดับนานาชาติ ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างครอบคลุม และสร้างผลประโยชน์ให้กับลูกค้าได้อย่างทันท่วงที
บริษัท ไทยคูน เวิลด์ไวด์ กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือที่เรียกว่า “ไทยคูน (ประเทศไทย)” ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2539
“ไทยคูนฯ (ประเทศไทย)” เป็นบริษัทย่อยของบริษัทไทยคูน กรุ๊ป อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด หรือที่เรียกว่า “ไทยคูน (Cayman)” ซึ่งถือหุ้น 79.47%
ไทยคูนฯ (Cayman)” ถูกสร้างขึ้นที่เกาะ Cayman โดยบริษัท ไทยคูน กรุ๊ป เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด หรือที่เรียกว่า “ไทยคูน (ไต้หวัน)” ถือหุ้น 100%
ปี | ประวัติความเป็นมาและความสำเร็จ |
---|---|
2539 |
เดือนกันยายน -เริ่มก่อตั้ง บริษัทไทยคูน เวิลด์ไวด์ กรุ๊ป (ไทยแลนด์) จำกัด เดือนตุลาคม -ไทยคูน (ประเทศไทย) ได้รับสิทธิพิเศษในการยกเว้นภาษีนำเข้า จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เป็นระยะเวลา 8 ปี และ ลดภาษีกึ่งหนึ่ง เป็นระยะเวลา 5 ปี สำหรับการผลิตเหล็กลวด ลวดเหล็กอบอ่อน และตะปูเกลียว |
2540 | เดือนกันยายน -ไทยคูน (ประเทศไทย) เริ่มก่อสร้างโรงงานได้ 9 โรงงาน สำหรับผลิตลวดเหล็กอบอ่อนและ ตะปูเกลียว |
2541 |
เดือนมกราคม -ไทยคูน (ประเทศไทย) เริ่มก่อสร้างโรงงานรีดเหล็ก เดือนตุลาคม -ขายผลิตภัณฑ์ตะปูเกลียวอย่างเป็นทางการ เดือนธันวาคม -สามารถเปิดดำเนินการตามสิทธิพิเศษการยกเว้นภาษี จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เป็นระยะเวลา 8 ปี |
2542 | เดือนตุลาคม-ขายผลิตภัณฑ์เหล็กลวดอย่างเป็นทางการ |
2544 |
เดือนตุลาคม-ไทยคูน (ประเทศไทย) ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ( ISO-9001) และระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมมาตรฐาน (ISO-14001) |
2546 | เดือนเมษายน -ไทยคูน (ประเทศไทย) ได้รับสิทธิพิเศษในการยกเว้นภาษีนำเข้า จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เป็นระยะเวลา 8 ปี และ ลดภาษีกึ่งหนึ่ง เป็นระยะเวลา 5 ปี สำหรับการผลิตสลักเกลียว เดือนกรกฎาคม -เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ไทยคูน เวิลด์ไวด์ กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เดือนธันวาคม -ไทยคูน (ประเทศไทย) เข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ |
2547 |
เดือนกรกฎาคม-ไทยคูน (ประเทศไทย) เริ่มก่อสร้างโรงงานผลิตสลักเกลียว |
2548 | เดือนกุมภาพันธ์ -ขายผลิตภัณฑ์สลักเกลียวอย่างเป็นทางการ |
2549 |
เดือนมีนาคม -มีมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติให้มีการลงทุนตลาดเหล็กแห่งใหม่ในประเทศเวียดนามด้วยการจัดตั้งบริษัทย่อยชื่อบริษัท ไทยคูน สตีล อินเตอร์เนชันแนล จำกัด (TSI) โดยเป็นผู้ถือหุ้น 100% มีทุนจดทะเบียน 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เดือนกันยายน -รัฐบาลเวียดนามได้อนุมัติให้ TSI ลงทุนโครงการใหม่ |
2550 | เดือนกุมภาพันธ์ -คณะกรรมการบริษัทมีมติให้ลดสัดส่วนการถือหุ้นของ TSI เหลือ 40% จำนวนเงินลงทุน 7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เดือนมีนาคม -มีมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น ให้ลดสัดส่วนการถือหุ้นของ TSI เหลือ 40% จำนวนเงินลงทุน 7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เดือนมิถุนายน -คณะกรรมการบริษัทมีมติให้ลดสัดส่วนการถือหุ้นของ TSI เหลือ 10% จำนวนเงินลงทุน 7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เดือนมิถุนายน -ได้ขายหุ้น 90% ของการถือหุ้นใน TSI (6,3000,000 หุ้น) ให้กับ E-United Group ดังนั้นภายหลังการขายหุ้นทำให้ ไทยคูน (ประเทศไทย) ถือหุ้นใน TSI 10% จำนวนเงินลงทุน 7 แสนดอลลาร์สหรัฐ เดือนกรกฎาคม -เพิ่มทุนจดทะเบียนอีก 2,300,000 ดอลลาร์สหรัฐ ตามอัตราแลกเปลี่ยนในประเทศของ TSI รวมเป็นจำนวนเงินลงทุน 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ |
2551 |
เดือนกุมภาพันธ์ -: คณะกรรมการบริษัทมีมติให้เพิ่มทุนจดทะเบียนที่ TSI อีก 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ รวมเป็นเงินลงทุน 23 ล้านดอลลาร์สหรัฐอ เดือนมีนาคม -เพิ่มทุนจดทะเบียนอีก 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามอัตราแลกเปลี่ยนในประเทศของ TSI รวมเป็น เงินลงทุน 23 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เดือนพฤศจิกายน -คณะกรรมการบริษัทมีมติให้ปรับโครงสร้างการลงทุนด้วยการจัดตั้งบริษัทย่อยแห่งใหม่ในประเทศ British Virgin Island (BVI) ชื่อ บริษัท ออล แมนเนจ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (AMIL) ซึ่งมีทุนจดทะเบียน 23 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมด 100% และปรับโครงสร้างการลงทุนโดยให้ AMIL ถือหุ้นของไทยคูน (ประเทศไทย) 10% ใน TSI เดือนธันวาคม -TSI ลดทุนจดทะเบียนจำนวน 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากเดิมเงินลงทุนของ AMIL จำนวน 23 ล้านดอลลาร์ ทำให้ AMIL ได้เงินทุนคืน 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากการลดทุนจดทะเบียนของ TSI และสัดส่วนการถือหุ้นใน TSI ยังคงอยู่ที่ 10% เดือนธันวาคม -คณะกรรมการบริษัทมีมติให้ลดทุนจดทะเบียนของ AMIL 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จำนวนเงินลงทุนของ AMIL ลดลงจาก 23 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็น 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และส่งคืนเงินทุนให้กับไทยคูน (ประเทศไทย) |
2552 | เดือนมิถุนายน -ไทยคูน (ประเทศไทย) มีหุ้นซื้อคืนจำนวน 24,996,100 หุ้น โดยจะต้องจำหน่ายหุ้นสามัญที่ซื้อคืนให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลาไม่เกิน 3 ปี คณะกรรมการบริษัทตัดสินใจลดทุนจดทะเบียน ทำให้ทุนจดทะเบียนของไทยคูน (ประเทศไทย) ลดลงจาก 6,285,000,000 บาท (628,500,000 หุ้น) เป็น 6,035,039,000 บาท (603,503,900 หุ้น) เดือนกรกฎาคม -ไทยคูน (ประเทศไทย)ได้รับการรับรองความสามารถของห้องปฏิบัติการทดสอบตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 สำรับผลิตภัณฑ์ เหล็กลวด เหล็กเส้นเสริมคอนกรีต ลวดเหล็ก และสลักเกลียว จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (TISI) |
2553 |
เดือนกรกฎาคม -TSI ได้เพิ่มทุนจดทะเบียน 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ AMIL ไม่ได้ซื้อหุ้นเพิ่ม ทำให้สัดส่วนการถือหุ้น ลดลงเหลือ 6% |
2554 | เดือนกันยายน -ไทยคูน(ประเทศไทย) ได้ออกและเสนอขายหุ้น Taiwan Depositary Receipt (TDR) ที่ประเทศไต้หวันจำนวน 30 ล้านหน่วย ซึ่งเท่ากับ 60 ล้านหุ้นของไทยคูน (ประเทศไทย) เดือนตุลาคม -ลงทุนครั้งใหม่โดยการจัดตั้งบริษัท ทีวายสตีล จำกัด และสร้างเตาหลอมไฟฟ้า |